วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
Songkhla
          เมืองสงขลามีชื่อเดิมว่า “เมืองสทิง” ตั้งอยู่ที่อำเภอสทิงพระปัจจุบัน พ่อค้าชาวอินเดีย เปอร์เซียและอาหรับที่เดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองสทิงพระเรียกเมืองนี้ว่า “เมืองสิงหลา” เนื่องจากขณะแล่นเรือเข้าปากทะเลสาบสงขลานั้น มองเห็นเกาะสองเกาะคล้ายสิงห์หมอบอยู่ ๒ ตัว เกาะสองเกาะนี้คือ เกาะหนู เกาะแมว นั่นเอง
           สงขลา เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดาห์(ไทรบุรี)ของมาเลเซีย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้มาแต่สมัยโบราณ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย อีกทั้งมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและการละเล่นพื้นเมืองที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย สงขลามีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งที่เป็นชายทะเล น้ำตก ทะเลสาบและมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
อำเภอหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคม เป็นเมืองชุมทางของภาคใต้มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันอำเภอเมืองสงขลายังคงมีสภาพบ้านเมืองที่เก่าแก่อันเป็นเอกลักษณ์ สงขลาจึงเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวเพราะมีลักษณะที่แตกต่างกันในตัว ๒ ลักษณะคือ สภาพเก่าแก่ของบ้านเมืองสงขลาและความเจริญของเมืองหาดใหญ่ ด้วยระยะทางห่างกันประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
จังหวัดสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ ๗,๓๙๓ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอควนเนียง อำเภอรัตภูมิ อำเภอบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา และอำเภอคลองหอยโข่ง
Songkhla2
ฟ้าสวยทะเลใส
   ที่...ริมหาดสมิหลา
1
           ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดพัทลุง และสงขลา ในจังหวัดพัทลุงยังมี หาดแสนสุข บริเวณปากคลองลำปำ เป็นหาดที่มีบรรยากาศร่มรื่นอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ทะเลสาบสงขลามีความยาวจากปากทะเลสาบ (อำเภอเมืองสงขลา) ไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอนบางตอนแคบ บางตอนกว้างมากส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็น ทะเลสาบน้ำกร่อยจะกร่อยมากในช่วงที่ติดกับทะเลอ่าวไทยตรงปากทะเลสาบ ในทะเลสาบสงขลามีเกาะอยู่-หลายเกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมาก (ตำบลเกาะหมาก) เกาะนางคำ(ตำบลเกาะนางคำ) และเกาะยอ(ตำบลเกาะยอ)

2
          สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคใต้ แบ่ง ออกเป็น 4 อาคาร โดยแต่ละอาคารจะแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ โบราณวัตถุที่เกิดจากภูมิปัญญา ของคนในท้องถิ่น เครื่องประดับศาตราวุธที่ใช้กันในภาคใต้ เช่น กริช มีดชายธง มีดหางไก่ แสดงผ้าทอพื้นเมือง เช่น ผ้าทอพุมเรียง ผ้าทอปัตตานี ห้องแสดงกระต่ายขูดมะพร้าวรูปทรงต่าง ๆ ที่มีรูปแบบหาชมได้ยากห้องแสดงการละเล่นพื้นเมือง เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า ห้องแสดงวิถีชีวิตชาวใต้ เช่น การแสดงการละเล่นและของเล่นเด็กเช่น การเล่นซัดราว การเล่นว่าว ลูกข่าง ห้องแสดงประเพณีการบวช ห้องแสดงการรักษาพยาบาลแบบโบราณ
3

           สะพานติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 4146 เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวงหมายเลข 4083 สายสงขลา-ระโนด โดยเป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาจากฝั่งบ้านน้ำกระจายผ่านเกาะยอ ไปฝั่งเขาเขียว เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องรอ ข้ามแพขนานยนต์ บริเวณฝั่งหัวเขาแดง สะพานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่งอำเภอเมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับชายฝั่งตอนใต้ของเกาะยอ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน ประมาณ 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529 สะพานแห่งนี้ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาแวะชมความงามของทิวทัศน์ควบคู่ไปกับการมารับประทานอาหารที่เกาะยอ
4
           หาดสมิหลา ชายทะเลเมืองสงขลาซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือน เรื่อยมา จนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลา ถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลังมีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของสมิหลา พร้อมด้วยรูปปั้นแมวและหนูที่บอกเล่าตำนานของเกาะ หนูเกาะแมวเป็นที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวตั้งใจมาเยือนเมื่อมาถึง จังหวัดสงขล

5
           เขาตังกวน เป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมในตัวเมืองสงขลา ทางไปแหลมสนอ่อน บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลา ซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ในเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีห่มผ้าองค์เจดีย์ ประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว และยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทิวทัศน์สองทะเล คือทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา และก่อนถึงยอดเขาตังกวนจะมีศาลาวิหารแดง (พลับพลาที่ประทับ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยนั้น สร้างพลับพลานี้ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2431 บริเวณด้านล่างเขาตังกวนมีลิงอาศัยอยู่จำนวนมาก การขึ้นยอดเขาตังกวน มีบริการลิฟท์ขึ้นยอดเขา หรืออาจเดินเท้าขึ้นไปตามบันไดนาคก็ได้

6
           เกาะยอ เป็นเกาะเพียงเกาะเดียวในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองสงขลา มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน มีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในด้านต่าง ๆ การเดินทางมายังเกาะยอมีสะพานติณสูลานนท์ 2 ช่วง เชื่อมเกาะยอกับฝั่ง อ. เมืองสงขลา และ อ.สิงหนครภายในเกาะยอมีถนนราดยางรอบเกาะยอ พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะยอเป็นภูเขาไม่สูงนัก มีที่ราบเชิงเขาติดทะเล และมีที่ราบกว้างทางตอนใต้ของเกาะยอ น้ำตกโตนงาช้าง น้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ น้ำตกโตนงาช้าง (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง) จ.สงขลา น้ำตกโตนงาช้าง อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ อยู่ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ประมาณ 28 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางหาดใหญ่-รัตภูมิ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายที่บ้านหูแร่ 13 กิโลเมตร น้ำตกโตนงาช้างมี 7 ชั้น ชั้นที่สวยงามและเป็นชื่อของน้ำตกคือ ชั้นที่ 3 สายน้ำตกไหลแยกกันมาในลักษณะคล้ายงาช้างแยกเป็น 2 ทาง การจะเดินเที่ยวน้ำตกทั้ง 7 ชั้น ต้องใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง เพราะทางขึ้นน้ำตกค่อนข้างชัน



แผงผังผู้ บริหารชมรมร้านขายยา จังหวัดสงขลา


 
แผงผังผู้ บริหารชมรมร้านขายยา จังหวัดสงขลา
     
     
 กรรมการที่ปรึกษาชมรม
   นายวิชัย อรุณรักษ์รัตนะนายสุวัชน์ เวชชาภินันท์  นายธีรยุทธ ปุณญนันทกร
  
นายวิชัย อรุณรักษ์รัตนะ
นายสุวัชน์ เวชชาภินันท์
นายธีรยุทธ ปุณญนันทกร
     
   นายสุรชาติ ศิริกูล  
  
นายสุรชาติ ศิริกูล
  
     
     
 ประธานชมรม
   นายนิพนธ์ ทรัพย์สิรินาวิน  
  
นายนิพนธ์ ทรัพย์สิรินาวิน
  
     
     
 รองประธานฝ่าย บริหาร


นายบรรจง ประทีปอุษานนท์

  
นายบรรจง ประทีปอุษานนท์
  
     
     
 เลขานุการ
   นายสุรศักดิ์ เวชชาภินันท์  
  
นายสุรศักดิ์ เวชชาภินันท์

คำขวัญจังหวัดสงขลา


คำขวัญจังหวัดสงขลา

 

นกน้ำเพลินตา    สมิหลา เพลินใจ
เมืองใหญ่สองทะเล    เสน่ห์สะพานป๋า
ศูนย์การค้าแดนใต้

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่ (อสท)


จริยา ชูช่วย...เรื่อง
นภดล กันบัว, กฤช วัฒนพฤกษ์...ภาพ

          "มาแต่สวนเหอ?"

          "หมัน มาอยู่แต่สวนวันสองวันก่อน เดี๋ยวทีมงานตามมา เห็นว่าแก่นี้ยังสวนสวย ๆ ลุย หาดใหญ่กะมีสวนสาธารณะน่าเที่ยว สงขลาเขากะมีสวนน้ำใหม่ ว่าอีไปแลสักหิด"


...................................

          ในวันที่หลายโรงเรียนทางภาคใต้มีกฎห้ามพูดภาษาถิ่น และสนับสนุนให้นักเรียนพูดภาษากลาง ตลอดจนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ฯลฯ เพื่อต้อนรับการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า จะด้วยเจตนาดีของผู้สอนที่ต้องการให้ลูกศิษย์กลืนกลมกับคนภาคอื่น ๆ และดูไม่เป็นตัวตลก หากต้องอยู่ในบรรดาเพื่อนฝูงเมื่อยามไปร่ำเรียนและทำงานในต่างถิ่น หรือจะเหตุผลอื่นใดที่สุดแล้วแต่ หากแต่กฎนี้กำลังกลายเป็นเป็นปัจจัยสำคัญที่ค่อย ๆ เลือนวัฒนธรรมทางภาษา และหลอมทุกอย่างเข้าเป็นหนึ่งเดียวจนขาดเสน่ห์ในที่สุด

          ครั้นเมื่อฉันยังได้ยินเสียงคำถามเชิงทักทายเช่นนี้ลอยอบอวลอยู่ในสงขลาหาดใหญ่ ปะปนกันไปท่ามกลางหลากวัฒนธรรมทั้งไทย จีน มุสลิม ก็ทำให้ใจขึ้นว่าเรายังคงเดินทางอยู่ในปลายด้านขวาน ถิ่นเดิมที่ยอมรับความแตกต่างของกันและกับได้อย่างน่าหลงใหล หากแต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเห็นมันไปอีกนานแค่ไหน

หาดใหญ่ สงขลา

          "มาคนเดียวหรือ?"

          "ใช่ มาคนเดียววันสองวัน เดี๋ยวทีมงานจะตามมา เห็นว่าที่นี่มีสวนสวย ๆ หลายสวนที่หาดใหญ่ก็มีสวนสาธารณะน่าเที่ยว ที่สงขลาก็มีสวนน้ำแห่งใหม่ ว่าจะไปดูสักหน่อย"

          ตกลงว่าครั้งนี้ ฉันมาสงขลา-หาดใหญ่ "แต่สวน" แต่ไม่ได้ไปแต่สวน ฉันไปหลายที่...จากเคยเดินสวนไปมาหันมามองหน้ากันมากขึ้น

          ฉันตัดสินใจมุ่งหน้าสู่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังเหตุการณ์ระเบิดห้างดังไม่กี่วัน ภารกิจไม่ได้ยิ่งใหญ่ คือมาดูความเป็นไปของผู้คนและแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นที่รัก ตลาดกิมหยง ที่นายซีกิมหยง 1 ใน 4 ผู้นำ ที่วางรากฐานความเจริญของเมืองหาดใหญ่สร้างไว้

          บนถนนศุภสารรังสรรค์ คือตลาดเก่าแก่ของเมืองหาดใหญ่ ศูนย์รวมผลไม้ต่างแดนจำพวกเกาลัด แอปเปิล ลูกไหน ลูกแพร อาหารแห้ง ขนมนำเข้าจากมาเลเซีย เรื่อยไปถึงถึงเสื้อผ้า ผ้าถุง ผ้าปาเต๊ะลายสวย ฯลฯ ก่อนเคยคึกคักด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา จนเคยอดสงสัยไม่ได้ว่า ไม้พายในกระทะคั่นเกาลัดของตลาดแห่งนี้ จะมีวันได้หยุดพักหมุนกับเขาบ้างไหมหนอ เพิ่งมาเห็นไม้พายนิ่งไปถนัดตาก็ครั้งนี้ ผู้คนก็ดูบางตา เห็นจะมีแต่ขาประจำในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงจับจ่ายใช้สอยตามปกติ

          "ช่วงนี้ก๊ะขายไม่ค่อยดี แต่ของก๊ะหรอยเหมือนเดิม ไม่เชื่อลองชิมต่ะ พิตาซิโอ อัลมอนด์ เม็ดมะม่วง แมกคาเดเมียก็มี หมึกแห้ง อันทผาลัม ก็หรอยนะน้อง" แม่ค้ามุสลิมหน้าหวานในตลาดร้องเรียกลูกค้า แล้วยื่นเม็ดถั่วพิตาซิโอให้ชิม


หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

          ฉันปล่อยเวลาช่วงระหว่างกลางวันต่อกลางคืน บนถนนสายสำคัญใจกลางเมืองหาดใหญ่ ที่พอจะเดินไปเดินมาตามแนวเหนือใต้กันได้เพลิน ๆ โดยไม่อ่อนกำลังมากนัก คือถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, 2 และ 3 รวมถึงถนนเสน่หานุสรณ์ ผู้คนตามเส้นทางดูมีปฏิกิริยาต่อคนรอบข้างมากขึ้น สายตาพิจารณาคนแปลกหน้ามากขึ้น หากแต่ไม่ได้สื่อถึงความไม่เป็นมิตรแต่อย่างใด ออกไปทางใส่ใจรายละเอียด และอยากถามไถ่เพื่อลบความคลางแคลงใจกันมากกว่า

          ขณะที่ยกกล้องขึ้นถ่ายภาพตึกแถวทรงชิโน-โปรตุกีส ที่เหลือเด่นอยู่เพียง 8 คูหา บนถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 หลายสายตาต่างมองอย่างสงสัยว่าฉันยกกล้องขึ้นถ่ายอะไร เหนือกว่านั้นอาจมีคำถามในใจต่อว่าถ่ายไปทำไม หากเป็นช่วงเวลาปกติที่ผู้คนคึกคัก การกระทำเช่นนี้อาจไม่ได้อยู่ในสายตาของใครเลย การกระทำแบบเดิม ๆ มักถูกนำมาตีความใหม่ หลังเกิดสถานการณ์ไม่คุ้นชินในสถานที่ที่คุ้นเคยเสมอ แต่จะแปลกอะไรเพราะบ่อยครั้งที่บทสนทนาอันออกรส เริ่มต้นจากคำถามแคลงใจว่า "หนูมาทำอะไรตอนนี้"

หาดใหญ่ สงขลา

          ตึกเก่า 8 คูหา ท้าแดดลมมาแต่ปี พ.ศ. 2460 สร้างโดย นายจองถ่ำ แซ่จอง ชาวจีนจากปีนัง ซึ่งเป็นผู้รับเหมาคนแรกของเมืองหาดใหญ่ ตัวตึกแถวตกแต่งด้วยเถาลวดลายดอกไม้และอาร์กตามประตูงามแปลกตา สีดั้งเดิมจากขาวหม่นเทา ถูกแปลงโฉมสะดุดตาแต่ไกล ทั้งส้ม ฟ้า เหลืองจัดจ้า ชนิดที่เรียกว่าถ้าหาไม่เจอก็แย่แล้ว 

          ส่วนตลาดดังฝั่งถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 คือ ตลาดสันติสุข และ ตลาดยงดี แหล่งขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง โทรศัพท์ นาฬิกา ไฟฉาย น้ำหอม รองเท้า เสื้อผ้า มีทั้งของจริง และของเลียนแบบ ต้องใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลตรวจสอบกันเอาเอง บรรยากาศไม่ต่างจากตลาดกิมหยงเท่าไรนัก คือเดินได้เพลินขึ้น และมีเวลาพูดคุยกับพ่อค้าแม่ขายนานกว่าปกติ โดยไม่มีใครแสดงสีหน้าเบื่อหน่าย

หาดใหญ่ สงขลา

          ตกดึกเดินเรื่อยมายืนประจันหน้ากับห้างใหญ่ใจกลางเมือง คือ ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า หาดใหญ่ และห้างลี การ์เดนส์ พลาซ่า บนถนนเสน่หานุสรณ์ ตัดกับแยกถนนประชาธิปัตย์ ยังมีโรงแรมเดอะ รีเจนซี หาดใหญ่ ซึ่งย่านนี้คือแหล่งธุรกิจที่ครึกครื้นที่สุดยามค่ำคืน

          เงยหน้ามองห้างลี การ์เดนส์ พลาซ่า ตึกสูงกว่า 33 ชั้น ที่ยังปิดซ่อมแซมจากเหตุการณ์ระเบิด หากจะบอกว่าบรรยากาศหลังระเบิดกลับมาคึกคักตามปกติ ก็ดูจะสวนทางกับความจริงมากเกินไป ที่นี่ยังคงเงียบเหงากว่าปกติ แต่ก็ไม่มากจนดูวังเวงเท่าที่คิดไว้ ส่วนร้านรวงและโรงแรมอื่น ๆ เปิดให้บริการตามปกติ ฉันได้แต่ภาวนาให้สภาวะที่เงียบเหงาเช่นนี้ เป็นเพียงเพราะวันนี้ไม่ใช่วันหยุดสุดสัปดาห์ที่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียหลั่งไหลเข้ามา แต่จะดีที่สุดหากความเงียบเหงานี้ก่อตัวจากการลองย่ำราตรี "แต่สวน" ของฉันเอง 

แผนทีท่องเทียวจังหวัดสงขลา

แผนที่ท่องเที่ยว
แผนที่สงขลา

หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดสงขลา

หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดสงขลา

หมวดหมู่ย่อย

หมวดหมู่นี้มีหมวดหมู่ย่อยเพียงหมวดหมู่เดียว

บทความในหมวดหมู่ "อำเภอในจังหวัดสงขลา"

มีบทความ 16 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 16 หน้า รายการที่ปรากฎด้านล่างอาจไม่รวมการแก้ไขล่าสุด

สสจ.สงขลา จัดประชุมสื่อจังหวัดสงขลา ร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก



สสจ.สงขลา จัดประชุมสื่อจังหวัดสงขลา ร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โดยฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อได้จัดประชุมสื่อจังหวัดสงขลา ร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก  เมื่อเช้า (10 ก.ย.56) ณ ห้องสมิหลา โรงแรมไดอิชิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  
 
นายแพทย์ธนิศ เสริมแก้ว นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้กล่าวว่า  สถานการณ์โรคไข้เลือดอออกของจังหวัดสงขลา มีการแพร่ระบาดตั้งแต่ต้นปี 2556  ซึ่งขณะนี้มีอัตราผู้ป่วยเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศและยังคงมีแนวโน้มจะเกิดการแพร่ระบาดต่อไปได้ เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยจากฝนตกในระยะนี้ ประกอบกับยังมีรายงานพบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอต่างๆอย่างต่อเนื่อง และบางอำเภอมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ในการควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการระมัดระวังป้องกัน และดูแลสุขภาพให้ถูกต้อง สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม   ในการสร้างปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพ  ทั้งนี้ สื่อมวลชนและสื่อชุมชนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน   เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โรค ความรุนแรงและผลกระทบการป้องกันควบคุมโรค และการร่วมมือของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรค  ทั้งสาเหตุจากปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ประกอบกับประชาชนยังมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดอออกไม่เหมาะสมและไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชาชน ให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น  โดยผ่านเครือข่ายแกนนำสื่อมวลชน/ สื่อชุมชนที่เป็นผู้ถ่ายทอดข่าวสาร ไปสู่ประชาชน รวมทั้งเป็นผู้กระตุ้นและจูงใจประชาชน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติและความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดอออกอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้มีประชาชนป่วยและเสียชีวิตด้วยโรค   ไข้เลือดอออกเพิ่มขึ้น และให้สามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคได้โดยเร็วที่สุด 

ประวัติจังหวัดสงขลา

ประวัติจังหวัดสงขลา
" สงขลา.. " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา
สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น
ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง
ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน
เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444)
จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของแหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน
ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์

สมัยเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง[แก้]

เป็นยุคที่น่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 โดยพิจารณาจากเจดีย์บนยอดเขาน้อยที่กำหนดอายุได้ไม่น้อยกว่า พุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยปรากฏชื่อในเอกสารต่าง ๆ ของพ่อค้าชาวตะวันตกว่า Singora บ้าง Singor บ้าง น่าจะมีชื่อเมือง สิงขร สิงคะ แปลว่าจอม ที่สูงสุดยอดเขา และภาษาไทยว่า "สิงขร" เป็นความหมายที่สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลา โดยช่วงเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของ เจ้าเมืองและ ปฐมพลเมืองชาวมุสลิม ซึ่งได้อพยพและนำพลพรรคชาวแขกชวา หนีภัยจากโจรสลัดที่คุกคามอย่างหนัก ในแถบหมู่เกาะชวาล่องเรือมาขึ้นฝั่งบริเวณฝั่งหัวเขาแดง โดยปรากฏในเอกสารชาวต่างชาติที่มาค้าขาย เป็นต้นว่าในสำเนาจดหมายของนายแมร์ เทนเฮาท์แมน จากอยุธยา มีไปจนถึงนายเฮนดริก แจนเซน นายพานิชย์คนที่ 1 ชาวดัตช์ ที่ปัตตานีในปี พ.ศ. 2156 ออกชื่อเจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้นว่า "โมกุล"[11] แต่ในบันทึกบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้กล่าวถึงเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2165 เรียกชื่อเจ้าเมืองว่า "ดาโต๊ะโกมอลล์" [12] จึงพอสรุปได้ว่า ผู้สร้างเมืองฝั่งหัวเขาแดงประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นมุสลิมที่ชาวอังกฤษในสมัยอยุทธยาเรียกว่า "โมกุล" และ ชาว ดัตช์ เรียกว่า "โมกอล" โดย ดาโต๊ะโมกุล ได้ตั้งเมืองสงขลาบริเวณหัวเขาแดง เขาค่ายม่วงและ เขาน้อย ซึ่งน่าจะอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2153 - 2154 [13] ซึ่งตรงกับสมัยพระเอกาทศรถ สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ซึ่งเป็นเชื้อสายโดยตรงของสุรต่านสุไลมาน ได้เล่าว่า ประมาณ พ.ศ. 2145 ดาโต๊ะโมกอลซึ่งเคยปกครองเมืองสาเลย์ ที่เป็นเมืองลูก ของจาการ์ตา บนเกาะชวา (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) ได้อพยพครอบครัว และบริวารหนีภัย การล่าเมืองขึ้น (ซึ่งใช้ปืนใหญ่จากเรือปืนยิงขึ้นฝั่งที่เรียกว่า Gunship policy) ลงเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา เข้าใจว่าตระกูลนี้คงเคยเป็นตระกูลปกครองบ้านเมืองมาก่อน เมื่อเจอทำเลเหมาะสมหัวเขาแดง ท่านดะโต๊ะ โมกอล ก็ได้นำบริวารขึ้นบก แล้วช่วยกันสร้างบ้านแปลงเมือง และ ดัดแปลงบริเวณปากทางเข้าทะเลสาบสงขลาให้เป็นท่าจอดเรือขนาดใหญ่ ที่สามารถรับเรือสำเภา หรือ เรือกำปั่นที่ประกอบธุรกิจการค้าทางทะเล แวะเข้าจอดเทียบท่าได้ จนเมืองหัวเขาแดงในสมัยนั้น กลายเป็นเมืองท่าเรือระหว่างประเทศไป กิติศัพย์นี้โด่งดังไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148 - 2153) จึงได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้ดะโต๊ะ โมกอล เป็นข้าหลวงใหญ่ของพระเจ้ากรุงสยาม ประจำเมืองพัทลุงอยู่ที่หัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา [14]
สุรต่านผู้ครองเมืองสงขลาได้ปกครองเมืองแบบรัฐสุรต่าน ของราชวงศ์ ออโตมาน ซึ่งการปกครองแบบนี้แพร่หลายเข้ามายังเกาะสุมาตรา เกาะชวา และรัฐสุรต่านต่าง ๆ ทางปลายแหลมมาลายู โดยสุลต่านผู้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนี่ จึงดำรงค์ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ส่วนบุตรชาย สามคนคือ มุสตาฟา ฮุสเซน และ ฮัสซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงทาง กองทัพเรือ ผู้บัญชาการป้อม และ ตำแหน่งการปกครองอื่น ๆ ในระบอบการปกครองแบบสุรต่าน [15]

ปฐมการค้า กับ ฮอลันดา[แก้]

ในระยะแรกของการตั้งเมืองสงขลา เจ้าเมืองได้ยอมรับในการตกเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา โดยสุรต่านผู้ครองเมือง ได้จัดส่งเครื่องราชบรรณาการซึ่งประกอบด้วยดอกไม้เงิน และ ดอกไม้ทอง แก่กรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าเมืองสงขลาได้กำหนดทิศทางของการพัฒนาเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นลักษณะเมืองท่า ทำกิจการในแลกเปลี่ยนสินค้าในระดับนานาชาติ โดยเมืองท่านี้ได้ทำการค้าขายกับ ฮอลันดา โปรตุเกตุ อังกฤษ จีน อินเดีย และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศคู่ค้าประเทศแรก ๆ ที่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีต่อ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และสามารถขยายความสัมพันธ์ทางการค้า มายังสงขลาคือ ฮอลันดา โดยเฉพาะระหว่างปี พ.ศ. 2171 - 2201 เป็นสมัยที่ฮอลันดา มีความมั่งคั่งจาก การผูกขาดเครื่องเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยฮอลันดาสามารถกำจัดคู่แข่งทางการค้าอื่น ๆ เช่น โปรตุเกตุ อังกฤษ และ พ่อค้ามุสลิม ให้ห่างจากเส้นทางการค้า มีผลทำให้ให้ฮอลันดามีความมั่งคั่ง และ มีอำนาจขึ้นในยุโรป และ ตะวันออกไกล ครั้นถึงปี พ.ศ. 2584 ชาวดัตช์สามารถยึดเมืองมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญได้จากโปรตุเกส จึงใช้มะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับจีน และญี่ปุ่นโดยตรง [16] โดยมีบันทึกหลาย ๆ ฉบับ ได้กล่าวถึงการค้าขายบริเวณเมืองท่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ดังนี้
  • จดหมายของนายคอร์เนลิส ฟอน นิวรุท จากห้างดัตช์ ที่กรุงศรีอยุทธยา ไปถึงหอการค้าเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. 2160 กล่าวถึงเมืองสงขลาไว้ว่า "ขณะนี้พ่อค้าสำคัญ ๆ ได้สัญญาว่าจะแวะเมืองสิงขระ (สงขลาฝั่งหัวเขาแดง) "[17]
  • จดหมายของ จูร์แคง ชาวอังกฤษได้รายงานไปที่ห้างอังกฤษ บนเกาะชวาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2164 ได้กล่าวถึงการค้าขายที่เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงไว้ว่า "พวกดัชใช้เรือขนาดเล็กที่เรียกว่า แวงเกอร์ โดยมีเรือขนาดเล็กนี้มีอยู่ประมาณ 4-5 ลำ ประจำที่สิงขระ เพื่อกว้านซื้อพริกไทยจากพ่อค้าชาวพื้นเมืองที่เข้ามาขายให้"[18]
  • บันทึกของ โยเกสต์ สเกาเตน ผู้จัดการห้างฮอลันดา ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง หนังสือแต่งเมื่อ พ.ศ. 2179 ดังคำแปลในประชุมพงศาวดาร ภาค 76 กล่าวว่า "พวกเราชาวฮอลันดาได้เข้ามาอยู่ในอนาจักรสยามได้ 30 ปีแล้ว และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพระมหากัตริย์ตลอดมา การค้าขายของเราถึงจะไม่ได้รับกำไรมากมายจนเกินไป แต่กระนั้นพวกเรายังได้รับไมตรีจิต มิตรภาพจากพระมหากษัตริย์ มากกว่าชนชาติยุโรปอื่นได้รับ"[19] ซึ่งสอดคล้องกับการพบสุสานของชาวฮอลันดาอยู่ ณ บริเวณสุสานวิลันดา ในบริเวณพื้นที่เมืองเก่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง
เนื่องจากการที่เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นเมืองคู่ค้าที่สำคัญ กับฮอลันดา ทำให้เมืองสงขลาได้รับการคุ้มครอง และ การสนับสุนด้านต่าง ๆ จากฮอลันดาเป็นอย่างมาก จนกระทั่งทำให้เมืองสงขลา โดย สุลต่านสุไลมาน ฉวยโอกาส แข็งเมืองในช่วงกบฏกรุงศรีอยุธยาใน รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งผลจากการแข็งเมืองนี้เองทำให้ สุลต่านสุไลมานประกาศตัวเป็น พระเจ้าสงขลาที่ 1 และ ดำเนินการค้าโดยตรงกับนานาประเทศโดยเฉพาะ ประเทศฮอลันดา ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ฮอลันดาได้ทำการค้าเพื่อเอาใจ และสัมพันธ์ด้านประโยชน์ทางการค้า ทั้งกรุงศรีอยุธยาและสงขลา ไปในคราเดียวกัน ดั่งปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าปราสาททอง แห่งอยุธยาได้เคย ขอให้ฮอลันดาช่วยปราบกบฏเมืองสงขลา แต่ฮอลันดากลับไม่ได้ตั้งใจช่วยอย่างจริงจังตามที่ได้แสดงเจตนาไว้ ซ้ำยังให้ความช่วยเหลือเมืองสงขลาด้วยในคราเดียวกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง กับฮอลันดา ยิ่งทวีความแน่นแฟ้นขึ้นตามลำดับ โดยไม่มีบทบาทของกรุงศรีอยุธยามาแทรกแซง จนฮอลันดาสนใจจะเปิดสถานีการค้ากับเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง
ตามบันทึกของ ซามูเอล พอทท์ส ซึ่งไปสำรวจภาวะตลาดในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2221 ได้บรรยายว่าเจ้าเมืองสงขลาต้อนรับเป็นอย่างดีที่วังของเมือง แสดงความเป็นกันเอง พร้อมทั้งตั้งข้อเสนอหลายอย่างที่เป็นการจูงใจให้เข้าไปค้าขาย เช่น จะไม่เก็บอากรบ้าน จะหาบ้านและที่อยู่ให้ [20] โดยปรากฏหลักฐานสนับสนุนเรื่องนี้จากจากแผนที่ซึ่งทำโดยชาวฝรั่งเศส ได้ระบุว่า มีหมู่บ้านของชาวฮอลันดาปรากฏอยู่ในแผนที่ นอกเหนือจากการปรากฏหลักฐานของสุสานชาวดัตช์ อยู่ใก้ลที่ฝังศพ สุลต่านสุไลมานซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง โดยมีหลุมศพเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ประมาณ 22 หลุม [21] ซึ่งชาวบ้านได้เรียกที่ฝังศพนี้ว่า "วิลันดา" ซึ่ง หนึ่งในยี่สิบสอง หลุมนี้อาจเป็นตัว ซามูเอล พอทท์ส หรือ พรรคพวกเองก็เป็นได้ [22]

ความสัมพันธ์ทางการค้ากับอังกฤษที่นำมาสู่เมืองแห่ง 20 ป้อมปืน[แก้]

ความเป็นคู่แข่งทางการค้าระหว่างฮอลันดา กับ อังกฤษได้นำมาสู่การคานอำนาจของหัวเมืองต่าง ๆ ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา เช่น ขณะที่สงขลามีปฏิสัมพันธ์ทางการค้าและการเมืองที่ดีต่อ ฮอลันดา นั้นอังกฤษก็ได้เริ่มมุ่งความสนใจทางการค้ากับ เมืองปัตตานีที่เป็นเมืองท่าอยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และ พยายามที่จะขยับขยายการค้ามาสู่ สงขลา ดังบันทึก ฉบับหนึ่งที่เขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษ กล่าวถึงการค้าที่เมืองสิงขระว่า "จะไม่เป็นการผิดหวัง หากคิดจะสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่ สิงขระ (Singora) ข้าพเจ้าคิดว่าเราอาจจะใช้สิงขระ เป็นที่สำหรับตระเวณหาสินค้าจากบริเวณใกล้เคียง เพื่อจัดส่งให้แก่ห้างของเราที่กรุงสยาม โคชินไชน่า บอเนียว และญี่ปุ่นได้อย่างดี"[23] โดยจากการค้าขายกับต่างชาตินี่เองทำให้เมืองสิงขระที่นำโดย "ดาโต๊ะโมกอล" ได้พัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการค้าขายระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความปลอดภัย และรักษาเมืองจากการปล้นสะดมจากโจรสลัดซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากในขณะนั้น การพัฒาเมืองจึงได้รวมไปถึงการสร้างป้อมปืนใหญ่บริเวณบนเขา และที่ราบในชัยภูมิต่าง ๆ ถึง 20 ป้อมปืน รวมไปถึงการสร้างประตูเมืองและคูดินรอบเมือง โดยได้รับการสนับสนุน เทคโนโลยีและอาวุธจากพ่อค้าชาวอังกฤษ แลกกับการที่อังกฤษมาตั้งห้างที่สงขลา ทั้งนี้ตรงกับหลักฐานตามที่นาย ลามาร์ ชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกแผนผังเมืองไว้เมื่อ พ.ศ. 2230 ประกอบด้วยประตูเมืองและป้อมปืน 17 ป้อม [24]
จากการที่สงขลาแข็งเมือง ทำให้พ่อค้าชาวอังกฤษเห็นช่องทางในการลดค่าภาษีที่จะต้องส่งให้แก่กรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ให้ของกำนัล แก่เจ้าเมือง สิงขระ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำการค้าขายในแถบนี้ได้แล้วดังบันทึกอันหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษว่า "การตั้งคลังสินค้าขึ้นที่นี่ยังจะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับห้างอีกด้วย เพราะที่นี่ไม่เก็บอากรขนอนเลย เพียงแต่เสียของกำนัลให้แก่ดาโต๊ะโมกอลล์ (เจ้าเมืองสงขลา) ก็อาจนำเงินสินค้าผ่านไปได้"[25] โดยผลจากการประกาศแข็งเมือง และ ตั้งตนเป็นพระเจ้าสงขลาที่ 1 ของสุลต่านสุไลมัน (บุตรของดาโต๊ะโมกอล) จึงเสมือนการเปิดโอกาสให้เมืองสงขลาในระยะนี้เจิญถึงจุดสูงสุด ถึงขั้นมีการผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง โดยมี คำว่า สงขลา. เป็นภาษาไทยบนหรียญ ภาษายาวีสองคำ อ่านว่า นะครี-ซิงเกอร์ แปลว่านครสงขลา และมีภาษาจีนอีก ห้าคำ [26] เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานในช่วงเวลาการผลิตเหรีญแต่สันนิษฐานจากภาษา แขก ที่ปรากฏบนเหรียญ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในช่วงเวลาที่เจ้าเมืองแขกปกครองสงขลาอยู่เกือบ 40 ปี ทำให้เรา และ สามารถคาดการณ์ถึงสภาพเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของเมืองสงขลาในขณะนั้นได้
ดังนั้นหลังจากปี พ.ศ. 2185 สุลต่านสุไลมานก็ตั้งต้นเป็นเอกราช สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเมืองเสงขลา ดำเนินการค้ากับ ฮอลันดา อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ โดยตรงไม่ผ่านการส่งอากรสู่อยุธยาทำให้ พระเจ้าปราสาททอง กษัทติย์ ของอยุธยาในขณะนั้น ต้องส่งกองทหารมาปราบหลายครั้งตลอดรัชการของพระองค์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสงขลาแห่งนี้ ได้ตั้งเมืองอยู่ในชัยภูมิที่ดี และ มีการก่อสร้างกำแพงเมือง คันคู ตลอดจน ป้อมปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันเมืองทั้งทางน้ำและทางบกมากกว่า ยี่สิบป้อม (บางเล่มก็ระบุว่า 17 ป้อมผู้เขียนอยู่ระหว่างค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม) ดังหลักฐานจากข้อเขียนของ วัน วลิต (Van Vliet) ผู้แทนบริษัท Dutch East India CO, Ltd. ประจำกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนเมืองสุรต่านที่หัวเขาแดง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2185 ได้เขียนรายงานไว้ว่า พระเจ้าปราสาททอง ได้เคยส่งกองเรือจากกรุงศรีอยุธยามาร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสงขลา) ทำการโจมตีเมืองสงขลาถึงสองครั้งในช่วงเวลาเพียง สองปี แต่ต้องประสพความพ่ายแพ้ไปทั้งสองครั้ง [27]
ต่อมา เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้ถูกกองทัพ ทั้งทางบก และ ทางทะเล ตีแตกในปี พ.ศ. 2223 ถัดมาในรัชการ สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏในจดหมายเหตุของมองซิเออ เวเรต์ ชาวฝรั่งเศส ที่มาค้าขายในอยุธยา ใน พ.ศ. 2230 ว่า "พระเจ้ากรุงสยามได้ส่งกองทัพเรือซึ่งมีเรือรบมาเป็นอันมาก ให้มาตีเมืองสงขลาเป็นอย่างมาก และ ได้ใช้แผนล่อลวงผู้รักษาป้อมแห่งหนึ่งให้มีใจออกห่างจากนายตน จากนั้นทหารกรุงศรีอยุธยาจึงได้ลอบเข้าไปทางประตูดังกล่าวเปิดประตูให้ทหารเข้ามาทำลาย และ เผาเมือง โดยเพลิงได้ลุกลามจนไหม้ เมืองตลอดจนวังของเจ้าพระยาสงขลาหมดสิ้นอีกทั้ง ทหารกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพเข้าไปในเมืองทำลาย ป้อม ประตู หอรบ และบ้านเมืองจนเหลือแต่แผ่นดิน เพราะเกรงว่าจะมีคนคิดกบฏขึ้นมาอีก" [28]
ส่วนอีกบันทึกหนึ่งได้เล่าไว้ว่า กองเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ร่วมกับกองทัพจากนครศรีธรรมราช ได้ยกทัพเรือมาดอบล้อมเมืองสุรต่านที่หัวเขาแดง โดยมีพระยารามเดโช เป็นแม่ทัพใหญ่ ครั้นแล้วกองทัพทั้ง สอง ฝ่ายก็ได้เริ่มทำยุธนาการกันทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีลูกเรือชาวดัตช์ที่มารักษาการณ์ อยู่ที่สถานีการค้าของบริษัท Dutch East India Co.Ltd. ที่หัวเขาแดง เข้าช่วยฝ่ายสุลต่านเมืองเขาแดง เข้ารบกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏที่ฝังศพของทหารอาสาชาวดัตช์ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของกุโบร์ที่ฝังศพของสุรต่านสุลัยมาน โดยในบันทึกได้บรยายรายละเอียดว่าในคืนวันหนึ่งขณะที่ปืนใหญ่จากเรือรบของนครศรีธรรมราช กำลังกระหน่ำยิงเมืองหัวเขาแดงทหารซึ่งอยู่ที่ป้อมเมืองสงขลาของสุรต่านมุสตาฟา (บุตร สุลต่านสุไลมาน) จำนวนสองคนได้ทำการทรยศจุดคบไฟโยนลงจากบนภูเขาใส่บ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ซึ่งส่วนมากจะมุงด้วยหลังคาใบจาก จึงได้เกิดไฟไหม้ขึ้น ทำให้เกิดโกลาหลอลม่านกันขึ้น จนกระทั่งกองทัพกรุงศรีอยุธยา และ เมืองนครศรีธรรมราชสามารถยกพลขึ้นบกได้หลายจุด เช้าวันรุ่งขึ้น มุสตาฟาและ ฮุสเซน และ ฮัสซัน น้องชาย เข้าพบและยอมจำนนแก่แม่ทัพใหญ่ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ผลที่สุดจึงปรากฏว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระบรมราชโองการ ให้ยุบเลิกเมือง สุลต่าน ที่หัวเขาแดง ล้วกวาดต้อนกองกำลัง และ บริวารทั้งหมดออกจากพื้นที่ แล้วลงเรืออพยพแบ่งเป็นสองพวกคือ คนที่มีอยุหกสิบปีขึ้นไป ให้อพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่ที่หมู่บ้านสงขลา เมืองไชยา (ในพื้นที่ จ สุราษฎธานี ห่างจากสงขลา ห้าร้อยกิโลเมตรทางตอนเหนือ) ส่วนคนหนุ่มคนสาว รวมทั้งลูกเจ้าเมืองทั้ง สาม ของสุรต่านสุไลมาน ให้อพยพเข้าไปอยู่ในกรุงศรีอยุธยา [29] หลังจากเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงถูกทำลายแล้วทางกรุงศรีอยุธยามีนโยบายจะยกเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ ดังหลักฐานจากหนังสือสัญญาที่ฟอนคอนทำไว้ที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ระบุไว้ว่า "สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามยกเมืองสงขลา และ เมืองขึ้นของสงขลา พระราชทานให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และ พระราชทานพระราชานุญาตให้พระจ้ากรุงฝรั่งเศสสร้างป้อม หรือจัดทำอะไรในเมืองสงขลาได้แล้วแต่พระทัย" [30] แต่ข้อนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิเศษข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากเมืองสงขลาในขณะนั้นอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนักเพราะถูกทำลายจนหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม เมืองสงขลาฝั่งหัวขาแดงก็ยังมีการสร้างกำแพงหรือขอบเขตของเมืองด้วยไม้ [31] แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก้ได้โยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน อยู่ฝั่งแหลมสนซึ่งอยู่ทางฟากเขาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งชุมชนนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน [32])