วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
Songkhla
          เมืองสงขลามีชื่อเดิมว่า “เมืองสทิง” ตั้งอยู่ที่อำเภอสทิงพระปัจจุบัน พ่อค้าชาวอินเดีย เปอร์เซียและอาหรับที่เดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองสทิงพระเรียกเมืองนี้ว่า “เมืองสิงหลา” เนื่องจากขณะแล่นเรือเข้าปากทะเลสาบสงขลานั้น มองเห็นเกาะสองเกาะคล้ายสิงห์หมอบอยู่ ๒ ตัว เกาะสองเกาะนี้คือ เกาะหนู เกาะแมว นั่นเอง
           สงขลา เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดาห์(ไทรบุรี)ของมาเลเซีย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้มาแต่สมัยโบราณ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย อีกทั้งมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและการละเล่นพื้นเมืองที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย สงขลามีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งที่เป็นชายทะเล น้ำตก ทะเลสาบและมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
อำเภอหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคม เป็นเมืองชุมทางของภาคใต้มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันอำเภอเมืองสงขลายังคงมีสภาพบ้านเมืองที่เก่าแก่อันเป็นเอกลักษณ์ สงขลาจึงเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวเพราะมีลักษณะที่แตกต่างกันในตัว ๒ ลักษณะคือ สภาพเก่าแก่ของบ้านเมืองสงขลาและความเจริญของเมืองหาดใหญ่ ด้วยระยะทางห่างกันประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
จังหวัดสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ ๗,๓๙๓ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอควนเนียง อำเภอรัตภูมิ อำเภอบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา และอำเภอคลองหอยโข่ง
Songkhla2
ฟ้าสวยทะเลใส
   ที่...ริมหาดสมิหลา
1
           ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดพัทลุง และสงขลา ในจังหวัดพัทลุงยังมี หาดแสนสุข บริเวณปากคลองลำปำ เป็นหาดที่มีบรรยากาศร่มรื่นอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ทะเลสาบสงขลามีความยาวจากปากทะเลสาบ (อำเภอเมืองสงขลา) ไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอนบางตอนแคบ บางตอนกว้างมากส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็น ทะเลสาบน้ำกร่อยจะกร่อยมากในช่วงที่ติดกับทะเลอ่าวไทยตรงปากทะเลสาบ ในทะเลสาบสงขลามีเกาะอยู่-หลายเกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมาก (ตำบลเกาะหมาก) เกาะนางคำ(ตำบลเกาะนางคำ) และเกาะยอ(ตำบลเกาะยอ)

2
          สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ บริเวณใกล้เชิงสะพานติณสูลานนท์ช่วงที่ 2 สถาบันตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคใต้ แบ่ง ออกเป็น 4 อาคาร โดยแต่ละอาคารจะแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ โบราณวัตถุที่เกิดจากภูมิปัญญา ของคนในท้องถิ่น เครื่องประดับศาตราวุธที่ใช้กันในภาคใต้ เช่น กริช มีดชายธง มีดหางไก่ แสดงผ้าทอพื้นเมือง เช่น ผ้าทอพุมเรียง ผ้าทอปัตตานี ห้องแสดงกระต่ายขูดมะพร้าวรูปทรงต่าง ๆ ที่มีรูปแบบหาชมได้ยากห้องแสดงการละเล่นพื้นเมือง เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า ห้องแสดงวิถีชีวิตชาวใต้ เช่น การแสดงการละเล่นและของเล่นเด็กเช่น การเล่นซัดราว การเล่นว่าว ลูกข่าง ห้องแสดงประเพณีการบวช ห้องแสดงการรักษาพยาบาลแบบโบราณ
3

           สะพานติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 4146 เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวงหมายเลข 4083 สายสงขลา-ระโนด โดยเป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาจากฝั่งบ้านน้ำกระจายผ่านเกาะยอ ไปฝั่งเขาเขียว เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องรอ ข้ามแพขนานยนต์ บริเวณฝั่งหัวเขาแดง สะพานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่งอำเภอเมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับชายฝั่งตอนใต้ของเกาะยอ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน ประมาณ 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529 สะพานแห่งนี้ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาแวะชมความงามของทิวทัศน์ควบคู่ไปกับการมารับประทานอาหารที่เกาะยอ
4
           หาดสมิหลา ชายทะเลเมืองสงขลาซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือน เรื่อยมา จนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลา ถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลังมีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของสมิหลา พร้อมด้วยรูปปั้นแมวและหนูที่บอกเล่าตำนานของเกาะ หนูเกาะแมวเป็นที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวตั้งใจมาเยือนเมื่อมาถึง จังหวัดสงขล

5
           เขาตังกวน เป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมในตัวเมืองสงขลา ทางไปแหลมสนอ่อน บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลา ซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ในเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีห่มผ้าองค์เจดีย์ ประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว และยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทิวทัศน์สองทะเล คือทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา และก่อนถึงยอดเขาตังกวนจะมีศาลาวิหารแดง (พลับพลาที่ประทับ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยนั้น สร้างพลับพลานี้ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2431 บริเวณด้านล่างเขาตังกวนมีลิงอาศัยอยู่จำนวนมาก การขึ้นยอดเขาตังกวน มีบริการลิฟท์ขึ้นยอดเขา หรืออาจเดินเท้าขึ้นไปตามบันไดนาคก็ได้

6
           เกาะยอ เป็นเกาะเพียงเกาะเดียวในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองสงขลา มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน มีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในด้านต่าง ๆ การเดินทางมายังเกาะยอมีสะพานติณสูลานนท์ 2 ช่วง เชื่อมเกาะยอกับฝั่ง อ. เมืองสงขลา และ อ.สิงหนครภายในเกาะยอมีถนนราดยางรอบเกาะยอ พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะยอเป็นภูเขาไม่สูงนัก มีที่ราบเชิงเขาติดทะเล และมีที่ราบกว้างทางตอนใต้ของเกาะยอ น้ำตกโตนงาช้าง น้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ น้ำตกโตนงาช้าง (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง) จ.สงขลา น้ำตกโตนงาช้าง อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ อยู่ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ประมาณ 28 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางหาดใหญ่-รัตภูมิ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายที่บ้านหูแร่ 13 กิโลเมตร น้ำตกโตนงาช้างมี 7 ชั้น ชั้นที่สวยงามและเป็นชื่อของน้ำตกคือ ชั้นที่ 3 สายน้ำตกไหลแยกกันมาในลักษณะคล้ายงาช้างแยกเป็น 2 ทาง การจะเดินเที่ยวน้ำตกทั้ง 7 ชั้น ต้องใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง เพราะทางขึ้นน้ำตกค่อนข้างชัน



แผงผังผู้ บริหารชมรมร้านขายยา จังหวัดสงขลา


 
แผงผังผู้ บริหารชมรมร้านขายยา จังหวัดสงขลา
     
     
 กรรมการที่ปรึกษาชมรม
   นายวิชัย อรุณรักษ์รัตนะนายสุวัชน์ เวชชาภินันท์  นายธีรยุทธ ปุณญนันทกร
  
นายวิชัย อรุณรักษ์รัตนะ
นายสุวัชน์ เวชชาภินันท์
นายธีรยุทธ ปุณญนันทกร
     
   นายสุรชาติ ศิริกูล  
  
นายสุรชาติ ศิริกูล
  
     
     
 ประธานชมรม
   นายนิพนธ์ ทรัพย์สิรินาวิน  
  
นายนิพนธ์ ทรัพย์สิรินาวิน
  
     
     
 รองประธานฝ่าย บริหาร


นายบรรจง ประทีปอุษานนท์

  
นายบรรจง ประทีปอุษานนท์
  
     
     
 เลขานุการ
   นายสุรศักดิ์ เวชชาภินันท์  
  
นายสุรศักดิ์ เวชชาภินันท์

คำขวัญจังหวัดสงขลา


คำขวัญจังหวัดสงขลา

 

นกน้ำเพลินตา    สมิหลา เพลินใจ
เมืองใหญ่สองทะเล    เสน่ห์สะพานป๋า
ศูนย์การค้าแดนใต้

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่-สงขลา เดินสวนทาง กลางสวนใหญ่ (อสท)


จริยา ชูช่วย...เรื่อง
นภดล กันบัว, กฤช วัฒนพฤกษ์...ภาพ

          "มาแต่สวนเหอ?"

          "หมัน มาอยู่แต่สวนวันสองวันก่อน เดี๋ยวทีมงานตามมา เห็นว่าแก่นี้ยังสวนสวย ๆ ลุย หาดใหญ่กะมีสวนสาธารณะน่าเที่ยว สงขลาเขากะมีสวนน้ำใหม่ ว่าอีไปแลสักหิด"


...................................

          ในวันที่หลายโรงเรียนทางภาคใต้มีกฎห้ามพูดภาษาถิ่น และสนับสนุนให้นักเรียนพูดภาษากลาง ตลอดจนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ฯลฯ เพื่อต้อนรับการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า จะด้วยเจตนาดีของผู้สอนที่ต้องการให้ลูกศิษย์กลืนกลมกับคนภาคอื่น ๆ และดูไม่เป็นตัวตลก หากต้องอยู่ในบรรดาเพื่อนฝูงเมื่อยามไปร่ำเรียนและทำงานในต่างถิ่น หรือจะเหตุผลอื่นใดที่สุดแล้วแต่ หากแต่กฎนี้กำลังกลายเป็นเป็นปัจจัยสำคัญที่ค่อย ๆ เลือนวัฒนธรรมทางภาษา และหลอมทุกอย่างเข้าเป็นหนึ่งเดียวจนขาดเสน่ห์ในที่สุด

          ครั้นเมื่อฉันยังได้ยินเสียงคำถามเชิงทักทายเช่นนี้ลอยอบอวลอยู่ในสงขลาหาดใหญ่ ปะปนกันไปท่ามกลางหลากวัฒนธรรมทั้งไทย จีน มุสลิม ก็ทำให้ใจขึ้นว่าเรายังคงเดินทางอยู่ในปลายด้านขวาน ถิ่นเดิมที่ยอมรับความแตกต่างของกันและกับได้อย่างน่าหลงใหล หากแต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเห็นมันไปอีกนานแค่ไหน

หาดใหญ่ สงขลา

          "มาคนเดียวหรือ?"

          "ใช่ มาคนเดียววันสองวัน เดี๋ยวทีมงานจะตามมา เห็นว่าที่นี่มีสวนสวย ๆ หลายสวนที่หาดใหญ่ก็มีสวนสาธารณะน่าเที่ยว ที่สงขลาก็มีสวนน้ำแห่งใหม่ ว่าจะไปดูสักหน่อย"

          ตกลงว่าครั้งนี้ ฉันมาสงขลา-หาดใหญ่ "แต่สวน" แต่ไม่ได้ไปแต่สวน ฉันไปหลายที่...จากเคยเดินสวนไปมาหันมามองหน้ากันมากขึ้น

          ฉันตัดสินใจมุ่งหน้าสู่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังเหตุการณ์ระเบิดห้างดังไม่กี่วัน ภารกิจไม่ได้ยิ่งใหญ่ คือมาดูความเป็นไปของผู้คนและแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นที่รัก ตลาดกิมหยง ที่นายซีกิมหยง 1 ใน 4 ผู้นำ ที่วางรากฐานความเจริญของเมืองหาดใหญ่สร้างไว้

          บนถนนศุภสารรังสรรค์ คือตลาดเก่าแก่ของเมืองหาดใหญ่ ศูนย์รวมผลไม้ต่างแดนจำพวกเกาลัด แอปเปิล ลูกไหน ลูกแพร อาหารแห้ง ขนมนำเข้าจากมาเลเซีย เรื่อยไปถึงถึงเสื้อผ้า ผ้าถุง ผ้าปาเต๊ะลายสวย ฯลฯ ก่อนเคยคึกคักด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา จนเคยอดสงสัยไม่ได้ว่า ไม้พายในกระทะคั่นเกาลัดของตลาดแห่งนี้ จะมีวันได้หยุดพักหมุนกับเขาบ้างไหมหนอ เพิ่งมาเห็นไม้พายนิ่งไปถนัดตาก็ครั้งนี้ ผู้คนก็ดูบางตา เห็นจะมีแต่ขาประจำในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงจับจ่ายใช้สอยตามปกติ

          "ช่วงนี้ก๊ะขายไม่ค่อยดี แต่ของก๊ะหรอยเหมือนเดิม ไม่เชื่อลองชิมต่ะ พิตาซิโอ อัลมอนด์ เม็ดมะม่วง แมกคาเดเมียก็มี หมึกแห้ง อันทผาลัม ก็หรอยนะน้อง" แม่ค้ามุสลิมหน้าหวานในตลาดร้องเรียกลูกค้า แล้วยื่นเม็ดถั่วพิตาซิโอให้ชิม


หาดใหญ่ สงขลา

หาดใหญ่ สงขลา

          ฉันปล่อยเวลาช่วงระหว่างกลางวันต่อกลางคืน บนถนนสายสำคัญใจกลางเมืองหาดใหญ่ ที่พอจะเดินไปเดินมาตามแนวเหนือใต้กันได้เพลิน ๆ โดยไม่อ่อนกำลังมากนัก คือถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, 2 และ 3 รวมถึงถนนเสน่หานุสรณ์ ผู้คนตามเส้นทางดูมีปฏิกิริยาต่อคนรอบข้างมากขึ้น สายตาพิจารณาคนแปลกหน้ามากขึ้น หากแต่ไม่ได้สื่อถึงความไม่เป็นมิตรแต่อย่างใด ออกไปทางใส่ใจรายละเอียด และอยากถามไถ่เพื่อลบความคลางแคลงใจกันมากกว่า

          ขณะที่ยกกล้องขึ้นถ่ายภาพตึกแถวทรงชิโน-โปรตุกีส ที่เหลือเด่นอยู่เพียง 8 คูหา บนถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 หลายสายตาต่างมองอย่างสงสัยว่าฉันยกกล้องขึ้นถ่ายอะไร เหนือกว่านั้นอาจมีคำถามในใจต่อว่าถ่ายไปทำไม หากเป็นช่วงเวลาปกติที่ผู้คนคึกคัก การกระทำเช่นนี้อาจไม่ได้อยู่ในสายตาของใครเลย การกระทำแบบเดิม ๆ มักถูกนำมาตีความใหม่ หลังเกิดสถานการณ์ไม่คุ้นชินในสถานที่ที่คุ้นเคยเสมอ แต่จะแปลกอะไรเพราะบ่อยครั้งที่บทสนทนาอันออกรส เริ่มต้นจากคำถามแคลงใจว่า "หนูมาทำอะไรตอนนี้"

หาดใหญ่ สงขลา

          ตึกเก่า 8 คูหา ท้าแดดลมมาแต่ปี พ.ศ. 2460 สร้างโดย นายจองถ่ำ แซ่จอง ชาวจีนจากปีนัง ซึ่งเป็นผู้รับเหมาคนแรกของเมืองหาดใหญ่ ตัวตึกแถวตกแต่งด้วยเถาลวดลายดอกไม้และอาร์กตามประตูงามแปลกตา สีดั้งเดิมจากขาวหม่นเทา ถูกแปลงโฉมสะดุดตาแต่ไกล ทั้งส้ม ฟ้า เหลืองจัดจ้า ชนิดที่เรียกว่าถ้าหาไม่เจอก็แย่แล้ว 

          ส่วนตลาดดังฝั่งถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 คือ ตลาดสันติสุข และ ตลาดยงดี แหล่งขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง โทรศัพท์ นาฬิกา ไฟฉาย น้ำหอม รองเท้า เสื้อผ้า มีทั้งของจริง และของเลียนแบบ ต้องใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลตรวจสอบกันเอาเอง บรรยากาศไม่ต่างจากตลาดกิมหยงเท่าไรนัก คือเดินได้เพลินขึ้น และมีเวลาพูดคุยกับพ่อค้าแม่ขายนานกว่าปกติ โดยไม่มีใครแสดงสีหน้าเบื่อหน่าย

หาดใหญ่ สงขลา

          ตกดึกเดินเรื่อยมายืนประจันหน้ากับห้างใหญ่ใจกลางเมือง คือ ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า หาดใหญ่ และห้างลี การ์เดนส์ พลาซ่า บนถนนเสน่หานุสรณ์ ตัดกับแยกถนนประชาธิปัตย์ ยังมีโรงแรมเดอะ รีเจนซี หาดใหญ่ ซึ่งย่านนี้คือแหล่งธุรกิจที่ครึกครื้นที่สุดยามค่ำคืน

          เงยหน้ามองห้างลี การ์เดนส์ พลาซ่า ตึกสูงกว่า 33 ชั้น ที่ยังปิดซ่อมแซมจากเหตุการณ์ระเบิด หากจะบอกว่าบรรยากาศหลังระเบิดกลับมาคึกคักตามปกติ ก็ดูจะสวนทางกับความจริงมากเกินไป ที่นี่ยังคงเงียบเหงากว่าปกติ แต่ก็ไม่มากจนดูวังเวงเท่าที่คิดไว้ ส่วนร้านรวงและโรงแรมอื่น ๆ เปิดให้บริการตามปกติ ฉันได้แต่ภาวนาให้สภาวะที่เงียบเหงาเช่นนี้ เป็นเพียงเพราะวันนี้ไม่ใช่วันหยุดสุดสัปดาห์ที่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียหลั่งไหลเข้ามา แต่จะดีที่สุดหากความเงียบเหงานี้ก่อตัวจากการลองย่ำราตรี "แต่สวน" ของฉันเอง 

แผนทีท่องเทียวจังหวัดสงขลา

แผนที่ท่องเที่ยว
แผนที่สงขลา

หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดสงขลา

หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดสงขลา

หมวดหมู่ย่อย

หมวดหมู่นี้มีหมวดหมู่ย่อยเพียงหมวดหมู่เดียว

บทความในหมวดหมู่ "อำเภอในจังหวัดสงขลา"

มีบทความ 16 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 16 หน้า รายการที่ปรากฎด้านล่างอาจไม่รวมการแก้ไขล่าสุด

สสจ.สงขลา จัดประชุมสื่อจังหวัดสงขลา ร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก



สสจ.สงขลา จัดประชุมสื่อจังหวัดสงขลา ร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โดยฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อได้จัดประชุมสื่อจังหวัดสงขลา ร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก  เมื่อเช้า (10 ก.ย.56) ณ ห้องสมิหลา โรงแรมไดอิชิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  
 
นายแพทย์ธนิศ เสริมแก้ว นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้กล่าวว่า  สถานการณ์โรคไข้เลือดอออกของจังหวัดสงขลา มีการแพร่ระบาดตั้งแต่ต้นปี 2556  ซึ่งขณะนี้มีอัตราผู้ป่วยเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศและยังคงมีแนวโน้มจะเกิดการแพร่ระบาดต่อไปได้ เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยจากฝนตกในระยะนี้ ประกอบกับยังมีรายงานพบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอต่างๆอย่างต่อเนื่อง และบางอำเภอมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ในการควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการระมัดระวังป้องกัน และดูแลสุขภาพให้ถูกต้อง สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม   ในการสร้างปัจจัยแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพ  ทั้งนี้ สื่อมวลชนและสื่อชุมชนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน   เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โรค ความรุนแรงและผลกระทบการป้องกันควบคุมโรค และการร่วมมือของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรค  ทั้งสาเหตุจากปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ประกอบกับประชาชนยังมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดอออกไม่เหมาะสมและไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชาชน ให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น  โดยผ่านเครือข่ายแกนนำสื่อมวลชน/ สื่อชุมชนที่เป็นผู้ถ่ายทอดข่าวสาร ไปสู่ประชาชน รวมทั้งเป็นผู้กระตุ้นและจูงใจประชาชน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติและความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดอออกอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้มีประชาชนป่วยและเสียชีวิตด้วยโรค   ไข้เลือดอออกเพิ่มขึ้น และให้สามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคได้โดยเร็วที่สุด